วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต



ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต




ภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ


วิชาอนุกรมวิธาน (Taxonomy) ส่วนประกอบ สําคัญ 3 ส่วน คือ
1. การจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ (classification) โดยมีการจัดแบ่งตาม ลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกัน
2. การตรวจสอบชื่อที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (Identification)
3. การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต (nomenclature) เป็นการให้ชื่อแก่สิ่งมีชีวิตอย่างมีหลักและวิธีการที่เป็น สากล
ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
 1.ลักษณะภายนอกและโครงสร้างภายใน
2.แบบแผนการเจริญเติบโตและโครงสร้างระยะตัวอ่อน
3.ซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบ
4.โครงสร้างของเซลล์และออร์แกเนล
5.สรีระวิทยาและการสังเคราะสารเคมี
6.ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
7.ลำดับขั้นในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
ลำดับขั้นของหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต (taxonomy category)  มีการจัดลำดับตั้งแต่ใหญ่ที่สุด ถึงเล็กที่สุดดังนี้ 1.อาณาจักร (kingdom) 2. ไฟลัม (phylum) หรือดิวิชัน (division) 3.คลาส (class) 4.ออร์เดอร์ (order) 5.แฟมิลี (family) 6.จีนัส (genus) 7.สปีชีส์ (species)
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต     วิทเทเกอร์ แบ่งสิ่งมีชีวิตป็น 5 อาณาจักร คือ
1.อาณาจักรสัตร์ (kingdom animalia)
2.อาณาจักรพืช (kingdom plantae)
3.อาณาจักรฟังไจ (kingdom fungi)
4.อาณาจักรโพรตีสตา (kingdom protista)
5.อาณาจักรมอเนอรา (kingdom monera)

อาณาจักรสัตว์     หลักในการพิจารณาและจัดสิ่งมีชีวิตเข้าไว้ในอาณาจักรสัตว์
1.1เซลล์เป็นแบบยูคาริโอต(Eucaryotic) คือเซลล์มี เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีไมโทรคอนเดรียมีไรโบโซมเป็ยชนิด 80s มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการผสมของเซลล์สืบพันธ์เป็นไซโกต
1.2 ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์ ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่มอาณาจักรสัตว์ หลักในการพิจารณาและจัดสิ่งมีชีวิตเข้าไว้ในอาณาจักรสัตว์
1.1เซลล์เป็นแบบยูคาริโอต(Eucaryotic) คือเซลล์มี เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีไมโทรคอนเดรียมีไรโบโซมเป็ยชนิด 80s มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการผสมของเซลล์สืบพันธ์เป็นไซโกต
1.2 ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์ ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่ม
เซลล์เหล่านี้จะมารวมกันเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ลำเลียงอาหาร
1.3 สร้างอาหารเองไม่ได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์
1.4 โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต มีบางชนิดที่เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนที่
1.5 ส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
      พืชทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับระบบนิเวศน์ มีทั้งประโยชน์และโทษ และพืชยังมีอยู่ในโลกจำนวนมาก ประมาณ 240000 สปีชีส์
หลักในการพัฒนาสิ่งมีชีวิตเข้าไว้ในอาณาจักรพืช
1.เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ป็นยูคาริโอต (eucarytic cell)
2.ประกอบไปด้วยเซลล์หลายๆเซลล็ที่รวมเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)
3.ผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวกเซลล์ลูโลส (cellulose)
4.มีคลอโรฟิลล์อยู่ในเม็ดคลอโรพลาสต์ (chloroplast)
5.การเจริญต้องผ่านระยะเอมบริโอ
6.ส่วนใหญ่ไม่เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
7.มีวงจรชีวิตแบบสลับ (aiternation of generation) คือแบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) และไม่อาศัยเพศ (asexual reprlduction)
   อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ประกอบด้วย รา เห็ด และยีสต์
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ
1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส
4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
   4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha)
   4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha)
       ส่วนยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่อาจมีการต่อกันเป็นสาย เรียกว่า Pseudomycelium
เส้นใยของฟังไจอาจเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ได้แก่
   Haustorium เป็นเส้นใยที่ยื่นเข้าเซลล์โฮสต์ เพื่อดูดอาหารจากโฮสต์ พบในราที่เป็นปรสิต
   Rhizoid มีลักษณะคล้ายรากพืชยื่นออกจากไมซีเลียม เพื่อยึดให้ติดกับผิวอาหารและช่วยดูดซึมอาหารด้วย เช่นราขนมปัง 

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
   - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
   - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
   สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น


19 กุมภาพันธ์ 2556

2 ความคิดเห็น: